เพื่อการว่าจ้างผู้รับเหมา สร้างบ้าน แบบ win win

Service Select Con

 


การตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง
ก็อาจนำไปสู่ ความผิดพลาด
ในเวลาสร้างบ้าน

แบบที่ 1

ตัดสินใจ..แบบคิดว่า.!!

มีลักษณะแบบนี้..

  • ยอมจ่ายเพื่อความสบายใจ
  • เน้นความสะดวกสบาย
  • ข้อมูลแบบผิวเผินประกอบ
    การตัดสินใจ
  • ให้กับผู้อื่นช่วยตัดสินใจ
    เช่น ถามว่า "ราคานี้..โอเคไหม"
  • ตัดสินใจเร็ว
  • ใช้ทนาย ดูสัญญา
  • จ้างที่ปรึกษาควบคุมงานฯ

ผลเสีย

  • ค่าก่อสร้างสูงเกินจริง
  • ได้คุณภาพงาน และ..
    ฝีมือช่างสร้างบ้าน..ไม่สมราคา
    แต่ยังเข้าใจว่า ได้บ้านดี.!!
  • ทนายแม่นเรื่องกฏหมาย
    แต่รู้ทางหนีทีไล่
    ของผู้รับเหมามากแค่ไหน
  • เสียหาย จำนวนมาก
    หากผู้รับเหมาถูกทิ้งงาน
  •  


แบบที่ 2

ตัดสินใจ..แบบเชื่อว่า

มีลักษณะแบบนี้..

เชื่อ (แบบผิดๆ) ว่า..
ให้เลือก..
ผู้รับเหมาที่เสนอราคาตรงกลาง
ระหว่างสูงสุด กับ ต่ำสุด

วิธีนี้.."ไม่ถูกต้อง" เพราะ..

  • ผู้รับเหมาที่เสนอราคา "สูงสุด"
    บางคนเป็นผู้รับเหมา "ฝีมือดี"
    บางคนฝีมือธรรมดา
    แต่ได้ภาพว่า
    ทำบ้านเจ้าสัว
    สถาปนิกชื่อดังแนะนำมา
    สร้างบ้านหลังใหญ่
    ผู้รับเหมากลุ่มนี้..
    มักจะคิดคล้ายกัน
    คือ เอากำไรสูงมากก.!!

  • ผู้รับเหมาที่เสนอราคากลางๆ
    ไม่มีอะไรเป็นเครื่องการันตีว่า
    ผู้รับเหมาจะมีคุณภาพ
    แค่ไปดูผลงาน ของผู้รับเหมามาแล้ว
    ถ้าท่านคิดว่าเพียงพอ
    แต่ผม่ไม่ได้ "คิดแบบท่าน"

  • ผู้รับเหมา ที่เสนอราคา "ต่ำสุด"
    ถ้าผมจะบอกว่า..
    แม้ผู้รับเหมาที่เสนอ "ราคาต่ำสุด"
    ก็อาจเป็น..
    ผู้รับเหมาที่ "เอากำไรเยอะ" ก็ได้
    ถ้าผู้รับเหมา 3-4 ราย ที่ท่านให้
    มาเสนอราคา เป็นผู้รับเหมารายใหญ่
    แถวหน้าของวงการ
    หรือ
    ผู้รับเหมาที่คิดคล้ายกันว่า
    ไม่ได้กำไรตามที่เขาต้องการ "ไม่ทำ"

    เมื่อเอาราคาผู้รับเหมาดังกล่าว
    มาเทียบกัน
    ก็ต้องมีรายที่ราคาสูงสุด
    ราคากลางๆ และราคาต่ำสุด
    ราคาต่ำสุดในกรณีนี้..
    ก็ได้กำไรมากเกินไปอยู่ดี .!!

  • แนวคิดข้างต้นนี้จึงไม่ถูกต้อง เพราะ

  • วิธีนี้.."ไม่ถูกต้อง" เพราะ..

    • ท่านไม่รู้ว่า "ต้นทุนค่าก่อสร้าง"
      ของผู้รับเหมาคือเท่าไร ?
      เพราะ..ไม่มีใครบอกท่าน
    • แบบฟอร์มบีโอคิวที่ท่าน
      ส่งให้ผู้รับเหมาตีราคา หละหลวม
      เปิดช่องให้ผู้รับเหมาได้ประโยชน์
    • ท่านไม่ได้"ฟิกซ์วิธีก่อสร้าง"
      ให้ผู้รับเหมาเสนอราคา


แบบที่ 3

ตัดสินใจ..แบบเชื่อโซเชียล

โซเชียล..บอกว่า..
ราคาสร้างบ้านตร.ม. ละเท่าไร ?
เชื่อ..
แล้วนำมา "ใช้ตัดสินใจ"า

ท่านคง..ไม่ทราบว่า..

  • บ้านทีมีรูปทรงไม่เหมือนกัน
    เช่น ทรงสี่เหลี่ยม ทรงรูปตัวแอล
    แม้จำนวน ตร.ม.ท่ากัน
    ราคาต่อ ตร.ม.ไม่เท่ากัน
  • จำนวนและขนาด
    ของประตูหน้าต่างไม่เท่ากัน
    ราคาต่อ ตร.ม.ไม่เท่ากัน
  • วัสดุตกแต่งไม่เหมือนกัน..
    ราคาไม่เท่ากัน
  • มนุษย์เรามักจะ..
    เชื่อในสิ่งที่ตนเองได้ประโยชน์
    โซเชียล..บอกราคาโดนใจ
    ก็เชื่อ.!!


แบบที่ 4

ตัดสินใจ..แบบฟังคำแนะนำ

มีคน "แนะนำ" ว่า..
ผู้รับเหมาคนนี้ "ดี"..จึงตกลงจ้าง.!!

หรือ..ดูจาก..รีวิว

ที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ได้ผิดอะไรครับ
แต่มีข้อสังเกตุ..

  • ถ้าคนที่แนะนำ..เป็นเพื่อนท่าน
    ข้อมูล..ก็เชื่อถือได้
  • แต่ถ้าคนแนะนำเป็นคนอื่น
    เช่นผู้ออกแบบ
    ทีปรึกษาฯ หรือ จากการรีวิว
    ใช้เป็นข้อมูลได้ระดับหนึ่งครับ
    หากเชื่อ..แต่ไม่ตรวจสอบให้ดี
    ก็ "ยังมี" ความเสี่ยงอยู่ดี

ตัวช่วย..

  • ควรรู้..ต้นทุน
    ค่าก่อสร้างของผู้รับเหมา
  • ใช้เสัญญาที่ไม่เสียเปรียบ
  • ไม่จ่ายเงินเกินกว่าเนื้องาน
    ที่ได้รับ


แบบที่ 5

มีคนบอกว่า..
ราคา "เหมาะสม" แล้ว

หากคนนั้น
เป็นผู้ออกแบบ หรือ ที่ปรึกษาฯ

ข้อสังเกตุ คือ..

  • เขามีความรู้และ
    ประสบการณ์ประเมินราคา
    สามารถวิเคราะห์ รายละเอียดใน BOQ
    ถึงระดับที่
    รู้ต้นทุนค่าก่อสร้างของผู้รับเหมา
    หรือไม่ ?
  • เขาช่วยให้ท่านมั่นใจ
    ว่าราคาที่ผู้รับเหมาเสนอ
    สมเหตุสมผล
    ท่านไม่ถูกเอาเปรียบ
    ได้งานที่คุ้มค่ากับคุณภาพงาน
    หรือไม่ ?
  • เขามีความเป็นกลาง..
    มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้รับเหมา
    หรือไม่ ?
  • หากทุกข้อที่กล่าวมา
    พิสูจน์ได้ว่า..
    เขาลึกรู้จริง มือสะอาด
    ก็มั่นใจได้ครับ.!!


แบบที่ 6

เรื่องนี้..ฉันรู้แล้ว.!!

บางคนอาจเคยสร้างบ้าน
และ..ไม่มีปัญหาอะไร
แต่จริงๆแล้ว
อาจมีปัญหาที่เราไม่รู้ก็ได้

การคิดว่า "ฉันรู้แล้ว"
อาจทำให้เกิดผลเสียตามมาโดยไม่รู้ตัว

การสร้างบ้าน
เป็นเรื่องใหญ่และมีความซับซ้อน
มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย
ที่อาจมองข้ามไปได้ง่ายๆ

การไม่ศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ
ก่อนตัดสินใจ
อาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น:

คุณอาจ "ไม่รู้" จริงๆว่า..
ที่ "เซ็นต์สัญญา" กับผู้รับเหมานั้น..

  • ราคาสร้างบ้าน
    ที่ "แท้จริง" คือเท่าไร ?
  • คุณภาพบ้าน..ได้แค่ไหน ?
    ฝีมือช่าง..ได้แค่ไหน ?
    หากจะตอบผมว่า..
    ก็ดูจากผลงานของผู้รับเหมา
    หรือ
    แบบก่อสร้างเขาระบุไว้ไง
    ผมฟันธงเลยว่า..
    ท่านไม่รู้..แต่คิดว่าตนเองรู้
  • วัสดุก่อสร้าง..ได้แค่ไหน ?
  • สถานภาพทางการเงิน
    ของผู้รับเหมา เป็นอย่างไร ?
  • อะไรคือ.. มาตรการ "ป้องกัน"
    ความเสียหาย ที่เป็น "รูปธรรม"
    หากผู้รับเหมาทิ้งงาน ?




 

 

 

168 User Online