ตลาดซื้อขายบริการรับสร้างบ้าน เพื่อการ..ว่าจ้างสร้างบ้าน..แบบ วิน วิน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแบบบ้าน
แปลนบ้าน และ แบบก่อสร้าง

ที่มา สมาคมสถาปนิกสยาม

มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ สถาปัตยกรรม
พ.ศ. 2532 (ต่อ)

2.5 การก่อสร้าง

สถาปนิกจะให้ความร่วมมือ ในการก่อสร้างเพื่อให้การก่อสร้างดำเนินไปตามความประสงค์ในการออกแบบ และเอกสารสัญญาดังต่อไปนี้

2.5.1 ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างก่อสร้าง ณ สถานที่ก่อสร้าง เป็นครั้งคราว และ รายงานให้เจ้าของงานทราบในกรณีที่จำเป็น

2.5.2 ให้คำแนะนำแก่ผู้รับจ้างก่อสร้าง เพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

2.5.3 ให้คำปรึกษา และแนะนำแก่ผู้ความคุมงานของเจ้าของงานเพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินไป ตามความประสงค์ในการออกแบบและเอกสารสัญญา

2.5.4 ให้รายละเอียดเพิ่มเติมตามความจำเป็น

2.5.5 ตรวจและอนุมัติแบบใช้งาน และ วัสดุและอุปกรณ์ตัวอย่างที่ผู้รับจ้างก่อสร้างนำเสนอ

2.6 การส่งมอบเอกสาร

สถาปนิกจะส่งมอบเอกสารตามข้อ 2.1 และ 2.2 จำนวน 5 ชุด และ จะส่งมอบเอกสารตามข้อ 2.3 จำนวน 10 ชุด ให้แก่เจ้าของงานในกรณีที่เจ้าของงานต้องการเอกสารมากกว่าที่กำหนด สถาปนิกจะเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสารเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายจริง

หมวดที่ 3 ค่าบริการทางวิชาชีพขั้นพื้นฐาน

สมาคมฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ การคิดค่าบริการวิชาชีพไว้ 2 วิธี คือ คิดจากอัตราร้อยละ และ คิดจากเวลาทำงาน

ดังมีรายละเอียดในการคำนวณหาค่าบริการวิชาชีพดังต่อไปนี้

3.1 การคิดค่าบริการวิชาชีพเป็นอัตราร้อยละ

สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพ เป็นอัตราร้อยละของค่าก่อสร้างสำหรับงานออกแบบ โดยทั่วไป โดยคำนวณจากตารางหมายเลข 1 “อัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐาน” เป็นหลักการคำนวณหาค่าบริการวิชาชีพตามข้อนี้ให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้

3.1.1 งานก่อสร้างโดยทั่วไป การคิดค่าบริการวิชาชีพสำหรับงานก่อสร้างโดยทั่วไป ให้คำนวณจากอัตราร้อยละ ตามระบุใน ตารางหมายเลข 1 “อัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐาน” โดยคิดเป็นอัตราก้าวหน้า

ตารางหมายเลข 1 อัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นพื้นฐาน

ตัวอย่าง 

อาคารประเภท 4 ราคาก่อสร้าง 35 ล้านบาท ให้คำนวณหาค่าบริการวิชาชีพดังต่อไปนี้

10 ล้านบาทแรก อัตราร้อยละ 6.50 เป็นเงิน 650,000 บาท

20 ล้านบาทถัดไป อัตราร้อยละ 5.50 เป็นเงิน 1,100,000 บาท

5 ล้านบาทที่เหลือ อัตราร้อยละ 4.75 เป็นเงิน 237,500 บาท

รวมเป็นค่าบริการทั้งสิ้น 1,987,500 บาท

 

3.1.2 งานก่อสร้างต่อเติม * การคิดค่าบริการวิชาชีพสำหรับงานก่อสร้างต่อเติม ให้คิดค่าบริการเป็น 1.2 เท่าของค่าบริการวิชาชีพตามข้อ 3.1.1

* งานก่อสร้างต่อเติม หมายถึง การออกแบบงานก่อสร้างต่อเติมอาคารที่มีอยู่แล้วและการก่อสร้างต่อเติมจำเป็นจะต้องแก้ไขระบบ โครงสร้างอาคารเดิมบางส่วน และหรือจำเป็นจะต้องแก้ไขประโยชน์ใช้สอยของอาคารเดิมบางส่วน

3.1.3 งานก่อสร้างดัดแปลง ** การคิดค่าบริการวิชาชีพสำหรับงานก่อสร้างดัดแปลง ให้คิดค่าบริการเป็น 1.4 เท่าของค่าบริการวิชาชีพตามข้อ 3.1.1

** งานก่อสร้างดัดแปลง หมายถึงการดัดแปลงแก้ไขประโยชน์ใช้สอยภายในอาคารที่มีอยู่แล้วจะโดยการแก้ไขเพิ่มเติมระบบโครงสร้างหรือไม่ก็ตาม 

3.1.4 งานก่อสร้างที่ใช้แบบซ้ำกัน งานก่อสร้างที่ใช้แบบซ้ำกันโดยไม่ต้องเขียนแบบใหม่ และทำการก่อสร้างในบริเวณเดียวกันให้คิดค่าบริการวิชาชีพดังต่อไปนี้

หลังที่ 1 คิดค่าบริการ 100 เปอร์เซ็นต์ของค่าบริการ ตามข้อ 3.1.1

หลังที่ 2 คิดค่าบริการ 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าบริการ ตามข้อ 3.1.1

หลังที่ 3 ถึง 5 คิดค่าบริการหลังละ 25 เปอร์เซ็นต์ของค่าบริการตามข้อ 3.1.1

หลังที่ 6 ถึง 10 คิดค่าบริการหลังละ 20 เปอร์เซ็นต์ของค่าบริการตามข้อ 3.1.1

หลังที่ 11 ขึ้นไป คิดค่าบริการหลังละ 15 เปอร์เซ็นต์ของค่าบริการตามข้อ 3.1.

3.2 การติดต่อค่าบริการวิชาชีพโดยคำนวณจากเวลาทำงาน

การคิดค่าบริการวิชาชีพโดยคำนวณจากเวลาการทำงานนี้ ให้ใช้เฉพาะงานที่ไม่สามารถคิดค่าบริการวิชาชีพเป็นอัตราร้อยละตามข้อ 3.1 ได้ เช่น การจัดทำผังแม่บท การให้คำปรึกษา การอำนวยการก่อสร้าง เป็นต้น การคิดค่าบริการวิชาชีพ โดยคำนวณจากเวลาทำงานนี้ให้คำนวณจากอัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่ คูณด้วยเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติงานเกี่ยวกับโครงการนี้และบวกด้วยค่าใช้จ่ายโดยตรงอื่นๆ

3.2.1 อัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่ อัตราค่าบริการต่อ เดือนของเจ้าหน้าที่นี้รวมถึงค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าสวัสดิการพนักงาน และค่าดำเนินงานสำหรับงาน ซึ่งโดยปกติอัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่ จะมีค่าเท่ากับ 2.145 – 2.5 เท่าของอัตราเงินเดือนพนักงานนั้นๆ (ค่าสวัสดิการพนักงานประมาณ 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราเงินเดือนค่าดำเนินงานสำนักงานประมาณ 60 – 90 % และค่ากำไร 10 %)

3.2.2 ค่าใช้จ่ายโดยตรงอื่นๆ สถาปนิกจะคำนวณค่าใช้จ่ายโดยตรงอื่นๆ ตามที่สถาปนิกจะต้องจ่าย สำหรับการให้บริการตามโครงการนี้ เพิ่มจากบริการวิชาชีพตามเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ตามข้อ 3.2.1 ดังต่อไปนี้

ค่าพิมพ์แบบและเอกสารอื่นๆ

ค่าเดินงาน ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พัก ค่าติดต่อสื่อสาร

ค่าจัดเตรียมประมาณการราคากลาง ค่าใช้จ่ายในการทำหุ่นจำลอง

ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐกิจ

ค่าใช้จ่ายสำรับผู้เชี่ยวชาญแขนงอื่นๆ ที่จำเป็น 

ค่าสำรวจทางสนาม ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สถาปนิกสามารถแสดงหลักฐานแก่เจ้าของงาน

3.3 การจ่ายเงินค่าบริการวิชาชีพ

สถาปนิกจะเบิกเงินค่าบริการวิชาชีพเป็นงวดๆ ดังต่อไปนี้

งวดที่ 1 

อัตราร้อยละ 5 ของค่าบริการวิชาชีพ เมื่อสถาปนิกตกลงเข้ารับทำงาน

งวดที่ 2 

อัตราร้อยละ 20 ของค่าบริการวิชาชีพ เมื่อสถาปนิกส่งมอบเอกสารการวางเค้าโครงการ ออกแบบและการออกแบบร่างขั้นต้น ตามระบุในข้อ 2.1

งวดที่ 3 

อัตราร้อยละ 20 ของค่าบริการวิชาชีพ เมื่อสถาปนิกส่งมอบเอกสารแบบร่างขั้นสุดท้าย ตามระบุในข้อ 22

งวดที่ 4

อัตราร้อยละ 40 ของค่าบริการวิชาชีพ ระหว่างดำเนินการออกแบบรายละเอียด โดย สถาปนิกจะเบิกเงินเป็นงวดๆ ตามที่ตกลงกัน

งวดที่ 5

อัตราร้อยละ 15 ของค่าบริการวิชาชีพ ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยสถาปนิกจะเบิก เงินเป็นงวดๆ ตามที่ตกลงกัน

* * หมายเหตุ 

การเบิกเงินค่าบริการวิชาชีพงวดที่ 1 ให้คำนวณจากประมาณการราคากลางที่เจ้าของงานกำหนด งวดที่ 2 ถึง งวดที่ 4 ให้คำนวณจากประมาณการราคาค่าก่อสร้างที่สถาปนิกจัดทำตามข้อ 2.1.4 

เงินค่าบริการวิชาชีพที่จ่ายแล้วทั้ง 4 งวดและเงินส่วนที่เหลือ สถาปนิกจะแก้ไขจำนวนเงินให้กู้ต้องเมื่อทราบราคาค่าก่อสร้าง 

3.4 การคิดค่าบริการวิชาชีพเพิ่มจากค่าบริการวิชาชีพขั้นพื้นฐาน

สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพเพิ่มจากค่าบริการวิชาชีพ ขั้นมูลฐานในกรณีดังต่อไปนี้

3.4.1 ในกรณีที่เจ้าของงานมีความประสงค์ จะให้สถาปนิกเกินกว่า 1 สำนักงาน ร่วมปฏิบัติในโครงการเดียวกัน สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพเพิ่มจากค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐานอีกร้อยละ 25 

3.4.2 ในกรณีที่เจ้าของงานมีความประสงค์จะแยกงานวิศวกรรมสาขาหนึ่งสาขาใด หรือทุกสาขาไปให้สำนักงานอื่นดำเนินการ สถาปนิกมีหน้าที่เพียงเพื่อประสานงานเท่านั้น สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพในการประสานงานเท่ากับร้อยละ 30 ของค่าบริการวิชาชีพในสาขานั้นๆ

3.4.3 ในกรณีที่เจ้าของงานเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนรายละเอียด ให้ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุมัติแล้วแต่ละขั้นตอน สถาปนิกจะได้รับค่าบริการวิชาชีพเพิ่มเติมตามค่าใช้จ่ายจริงที่สถาปนิกจะต้องเสียไป โดยคำนวณจากเวลาทำงานตามข้อ 3.2

3.4.4 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่พัก สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามโครงการนี้ ในกรณีที่จำเป็นจะต้องเดินทาง ออกนอกเขตกรุงเทพ มหานคร รวมทั้งค่าติดต่อสื่อสารด้วย

3.4.5 ค่าบริการพิเศษอื่นๆ นอกเหนือจากการบริการขั้นมูลฐานตามระบุในหมวดที่ 2

ประเภทของงาน

งานประเภทที่ 1

การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบผลิตภัณฑ์สถาปัตยกรรม และ ครุภัณฑ์

งานประเภทที่ 2

พิพิธภัณฑ์ อนุสาวรีย์ อาคารอนุสรณ์ที่มีแผนแบบวิจิตร อาคารทางศาสนา (วัด โบสถ์ วิหาร)

งานประเภทที่ 3

บ้านพักอาศัย อาคารประเภทโรงเรือนสลับซับซ้อนที่มีส่วนใช้สอยของอาคาร หลายๆ ประเภทรวมกันตั้งแต่ 3 ประเภทขึ้นไป ทั้งนี้ไม่นับรวม งานประเภทที่ 1 และ งานภูมิสถาปัตย์

งานประเภทที่ 4

โรงพยาบาล อาคารห้องปฏิบัติการ รัฐสภา ศาลาท้องถิ่น วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หอสมุด โรงแรม โมเต็ล ธนาคาร อาคาร ชุดพักอาศัย โรงภาพยนตร์ สนามกีฬาในร่ม 

- โปรดอ่านต่อหน้าถัดไป -

หากมีข้อสงสัย
ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการว่าจ้างผู้รับเหมา
และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้าน ปรึกษาได้ฟรีครับ
โดยคลิกที่ไอคอนข้างล่างนี้

กลับไปหน้าสารบัญ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ แบบบ้าน แปลนบ้าน แบบก่อสร้าง


ค้นข้อมูล ในซีเล็คคอน

14-2-2560-S

สงวนลิขสิทธิ์ © โดยทีมงาน selectcon.com