ตลาดซื้อขายบริการรับสร้างบ้าน เพื่อการ..ว่าจ้างสร้างบ้าน..แบบ วิน วิน

แนวทางในการตรวจสอบ
คุณภาพงานสร้างบ้าน

น้าอารีย์

ฐานรากและตอม่อ

ฐานราก และ ตอม่อ..
ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักของตัวบ้าน โดยถ่ายน้ำหนักนั้นลงบนเสาเข็มที่ได้ตอกเอาไว้

กระบวนการในการทำฐานราก แบ่งออกเป็น
งานขุดดิน งานตัดหัวเสาเข็ม งานตีผังหาศูนย์เสา งานผูกเหล็กเสริมคอนกรีต งานเข้าแบบหล่อคอนกรีต งานเทคอนกรีต งานบ่มคอนกรีต และ งานกลบดินลงหลุมฐานราก

1. งานขุดดินฐานราก

ขนาดของหลุมที่ขุด
ต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะนำแบบหล่อฐานรากลงไปวางไว้ได้ ส่วนการที่จะขุดดินลงไปแล้วลึกลงไปเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่ที่ระดับพื้นชั้นล่างว่าอยู่ที่ระดับเท่าไร

@@@@@@@@@@

ปรกติแล้ว....
เรามักจะใช้ระดับดินถมในที่ดินของเราเป็นระดับศูนย์ศูนย์ บางท่านอาจจะสงสัยว่า ที่ดินของท่านสูงต่ำไม่เท่ากันแล้วจะเอาตรงไหนเป็นระดับศูนย์ศูนย์กันแน่

คำตอบคือ..
ตอนที่ทำการว่าผังช่างเขาจะกำหนดระดับศูนย์ศูนย์เอาไว้ โดยใช้หมุดตอกไว้ที่พื้นดิน แล้วให้ท่านทำการอนุมัติระดับศูนย์ศูนย์นี้

ซึ่งระดับศูนย์ศูนย์
จะต้องถูกนำมาใช้อ้างอิงเกี่ยวกับระดับบ้านทั้งหมด

กลับมาประเด็นที่ว่าระดับที่จะขุดดินลึกลงไปเท่าไรนั้น
มีข้อในการพิจารณาอยู่ 2 ข้อคือ
ระดับความสูงของพื้นชั้นล่าง และ ลักษณะดินที่รองรับฐานราก

 

1.1 ลักษณะดินที่รองรับฐานราก

บ้านหลายหลังที่จะสร้าง มีการถมดินเพื่อปรับระดับความสูงของที่ดินให้สอดคล้องกับความสูงของถนน
กล่าวคือ ถมเสมอถนน หรือ ถมสูงกว่าถนนนั่นเอง

ตอนถมดินส่วนใหญ่จะใช้รถย่ำไปย่ำมาเพื่อให้ดินแน่น ซึ่งดินในส่วนที่ถมไว้นี้ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักได้ไม่มาก

ดังนั้นการขุดดิน ปรกติจะต้องขุดดินไปจนก้นหลุมถึงระดับดินเดิม เพราะที่ระดับดินเดิมนี้สามารถรองรับน้ำหนักฐานรากก่อนที่คอนกรีตจะเซ็ทตัวได้ หรือหากระดับดินเดิมอยู่ลึกมากๆ ก็ให้แทนที่ก้นหลุมด้วยกรวดหรือทรายที่ทำการบดอัดให้แน่น

ควรทราบว่าในกรณีที่ดินก้นหลุมอ่อน 
อาจมีปัญหาตามมาคือ หลังจากการเทคอนกรีตฐานรากแล้วในระหว่างที่คอนกรีตกำลังเซ็ทตัว หากดินก้อนหลุมเกิดทรุดตัวขึ้นมาจะมีผลถึงความแข็งแรงของฐานราก

ข้อห้ามอีกประการหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับงานดินฐานรากก็คือ
ห้ามวางฐานรากไว้บนผิวดินที่ไม่มีการขุดโดยเด็ดขาด เพราะน้ำจะเซาะใต้ฐานรากได้ง่าย

อย่าสับสนกับเรื่องของการถ่ายน้ำหนักจากตัวบ้าน ลงมาที่ฐานราก และลงไปสู่เสาเข็มนะครับ เพราะมันคนละเรื่องกับคุณสมบัติดินที่สามารถรับน้ำหนักเบื้องต้นของฐานรากได้ เพราะเมื่อคอนกรีตแข็งตัวได้ที่แล้ว ไม่ได้อาศัยดินที่ว่ามานี้ในการรับน้ำหนักนะครับ

1.2 ระดับความสูงของพื้นชั้นล่าง

การพิจารณาว่าดินที่จะขุดนั้นลึกลงไปเท่าไร ในวีดีโอคลิปมีคำอธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดอยู่แล้ว ดูที่วีดีโอนะครับ

รับชม หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มตรวจสอบงานสร้างบ้าน

-โปรดอ่านต่อหน้าถัดไป -

หากมีข้อสงสัย
ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการว่าจ้างผู้รับเหมา
และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้าน ปรึกษาได้ฟรีครับ
โดยคลิกที่ไอคอนข้างล่างนี้

กลับไปหน้า
สารบัญแนวทางในการตรวจงานสร้างบ้าน

 

ค้นข้อมูล ในซีเล็คคอน

14-2-2560-S

สงวนลิขสิทธิ์ © โดยทีมงาน selectcon.com