เล่าเรื่อง..จากภาพ 16
โดย
บักสีดา
การบ่มคอนกรีต
การบ่มคอนกรีต...
ตามข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้างสำหรับโครงสร้างคอนกรีต หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า มาตรฐาน ว.ส.ท. 1014-16 ระบุไว้ว่า
"คอนกรีตจำเป็นต้องได้รับการบ่มทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการเท และควรบ่มต่อไปจนกระทั่งคอนกรีตมีกำลังตามต้องการ"
"หลักการทั่วไปของการบ่มคอนกรีตที่ดี จะต้องสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียความชื้น ไม่ว่าจะด้วยความร้อนหรือลม ไม่ให้คอนกรีตร้อนหรือเย็นมากเกินไป ไม่ให้สัมผัสกับสารเคมีที่จะเป็นอันตรายต่อคอนกรีต และไม่ถูกชะล้างโดยน้ำฝนหลังการดทคอนกรีตใหม่ๆ"
การบ่มคอนกรีต
คือวิธีการที่ช่วยให้คอนกรีตเซทตัวอย่างมีคุณภาพ มีกำลังอัดตามที่
วิศวกรผู้ออกแบบคำนวนไว้
การบ่มคอนกรีตทำได้หลายวิธี แต่สำหรับงานสร้างบ้านนั้น มีดังนี้
การบ่มเปียก ได้แก่
...การให้น้ำให้ชุ่ม เช้าเย็น 7 วัน การใช้กระสอบคลุมรดน้ำให้ชุ่ม การขังน้ำ การรดน้ำ
การใช้น้ำยาบ่ม
... ใช้น้ำยาบ่ม ฉีด พ่น หรือ ทา บนเนื้อคอนกรีต มีข้อสังเกตุคือ ควรทำมากกว่า 1 เที่ยว เพื่อให้เนื้อฟิล์มเคลือบผิวคอนกรีตมีความหนาพอ และควรทำทันที เพื่อไม่ให้น้ำที่ค้างบนผิวคอนกรีตผสมกับน้ำยาบ่ม ในกรณีที่ไม่สามารถทำได้ทันที ให้ฉีดน้ำบนผิวคอนกรีตให้ชุ่มไว้ก่อน
การบ่มคอนกรีต แบบอื่นๆ เช่น ใช้พลาสติกพันเสา เป็นต้น
ผลของการไม่บ่มคอนกรีต จะทำให้ความแข็งแรงของคอนกรีตลดลง คุณได้เห็นขนาดเสาหรือคานเท่าเดิม แต่ความแข็งแรงของมันลดลงครับ
เรื่องบ่มคอนกรีตนี่ ช่างบ้านเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับมันสักเท่าไร ซึ่งมันไม่ถูก

การบ่มคอนกรีต โดยใช้กระสอบคลุม รดน้ำให้ชุ่มตลอด 7 วัน

การบ่มคอนกรีต ด้วยการใช้น้ำยาบ่ม
ทา 2 เที่ยว (ทาครั้งเดียว ไม่ได้ทาทั้ง 7 วัน)

การบ่มคอนกรีต โดยการใช้พลาสติกพัน (ที่เสา)

การบ่มคอนกรีต โดยการขังน้ำ 7 วัน
หากมีข้อสงสัย
ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการว่าจ้างผู้รับเหมา
และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้าน ปรึกษาได้ฟรีครับ
โดยคลิกที่ไอคอนข้างล่างนี้

กลับไปหน้าสารบัญ เล่าเรื่องจากภาพ
 
|