ตลาดซื้อขายบริการรับสร้างบ้าน เพื่อการ..ว่าจ้างสร้างบ้าน..แบบ วิน วิน

วิธีดูเสปคของบริษัทรับสร้างบ้าน
ก่อนตัดสินใจว่าจ้าง

1

น้าอารีย์

วิธีดูเสปคของบริษัทรับสร้างบ้าน..
ก่อนตัดสินใจว่าจ้าง ที่ผมนำเสนอต่อไปนี้...

พอจะเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ท่านตัดสินใจเลือกบริษัทรับสร้างบ้านได้ในระดับหนึ่ง นอกเหนือไปจากการพิจารณาความน่าเชื่อถือ , ฝีมือช่าง , ราคาค่าก่อสร้าง และ แบบบ้าน เป็นต้น

ในหัวข้อนี้ ผมจะเจาะเรื่องวิธีการดูเสปค หรือรายการวัสดุก่อสร้าง ก่อนที่ท่านจะว่าจ้างบริษัทรับสร้างบ้าน

ตามผมมาสิครับ...

หากใช้เข็มตอก มีการทดสอบชั้นดิน หรือไม่..?

การทดสอบชั้นดิน คือการตรวจสอบว่าชั้นดินที่สามารถรับน้ำหนักตัวบ้านของท่านได้ มีระดับความลึกลงไปเท่าไร ควรทราบว่าเสาเข็มตอก รับน้ำหนักตัวบ้านได้ 2 รูปแบบ

แบบที่หนึ่ง เป็นรับน้ำหนักโดยอาศัยแรงฝืดของดินที่มีต่อเสาเข็มตอก (ตัวอย่างแรงฝืด เช่น ตอกไม้ลงไปในดินแล้วดึงไม่ขึ้นนั่นคือแรงฝืด)

แบบที่สอง คือ รับน้ำหนักตรงส่วนปลายของเสาเข็ม โดยปลายเสาเข็มหยั่งลงบนชั้นดินที่สามารถรับน้ำหนักตัวบ้านได้ ซึ่งการทดสอบชั้นดินเป็นการหาว่าชั้นดินชั้นนี้อยู่ลึกลงไปเท่าไร (นอกจากนี้ผลที่ได้จากการทดสอบชั้นดินจะทำให้เราทราบถึงชั้นดินที่ระดับต่างๆว่า มีความแข็ง อ่อนเท่าไร ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับแรงฝืดที่กล่าวมาแล้วด้วย)

หากไม่ทดสอบชั้นดิน ก็มีความเป็นไปได้ที่ตอกเข็มแล้วปลายของเข็มไม่ถึงชั้นที่รับน้ำหนักที่ตัวบ้านได้ แต่ยังคงรับหนักบ้านได้ เพราะอาศับแรงฝืดที่ดินทำกับเสาเข็มนั่นเอง ลักษณะนี้บ้านมีโอกาสทรุดตัว แต่เป็นการทรุดตัวลงทั้งหลังทำให้ผู้อยู่อาศัยไม่รู้สึกอะไรเลย

สรุปคือ หากเสาเข็มรับน้ำหนัก 2 ลักษณะ คือ ใช้แรงฝืด กับ ปลายเข็มอยู่บนชั้นดินแข็ง ย่อมดีกว่า เสาเข็มที่รับน้ำหนักบ้านโดยอาศับแรงฝืดแต่เพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม หากบริเวณข้างเคียง มีการก่อสร้างบ้านและทำการตอกเสาเข็มแล้ว เราอาจใช้เกณฑ์ความยาวของเสาเข็มข้างบ้านที่มากำหนด ความยาวของเข็มก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบชั้นดิน

เสาเข็ม..?

บางบริษัทฯจะเขียนคลุมไว้กว้างๆ ตั้งแต่เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (เข็มตอก) ขนาด I 18 x 18 จนถึง I 26 x 26ความยาวตั้งแต่ 16 เมตร ถึง 21 เมตร นั่นเป็นเพราะว่า เสปคนั้นใช้ร่วมกันในแบบบ้านหลายแบบ เขาจึงเขียนอย่างนั้น

ให้สอบถามด้วยว่าในกรณีที่ไม่สามารถใช้เข็มตอกได้ และ ต้องใช้เข็มเจาะนั้น ต้องจ่ายเพิ่มไหม หากต้องจ่ายเพิ่มอีกเท่าไร ควรตรวจสอบว่าราคาเข็มตอก และ เข็มเจาะ ในขณะนั้นๆ ราคาเท่าไร ส่วนต่างคือส่วนที่ท่านต้องจ่ายเพิ่ม 

เสาเข็ม ที่ได้รับ ตรา มอก. ระวัง พวก มอก. ปลอมนะครับ
ควรจดหมายเลข ของ มอก. ไปตรวจสอบ

กรณีเข็มตอก ให้ท่านตรวจสอบดังนี้

เมื่อเล็งแบบบ้านแบบไหน ให้ถามพนักงานขายให้ชัดเจนว่าเข็มที่จะใช้ในแบบบ้านที่ท่านหมายตาไว้ ใช้เข็มตอกขนาดไหน ความยาวเท่าไร ใช้เข็มของบริษัทไหน ได้มาตรฐาน มอก. หรือไม่

ท่านสามารถ ขอสำเนาหนังสือรับรอง ตรา มอก. ของเสาเข็มตอก มาดูได้ ถ้าอยากจะตรวจละเอียดอีกหน่อยละก็ ตรวจสอบว่าหนังสือรับรองตรา มอก.นั้น เป็นของบริษัทเสาเข็มนั้นจริงๆ หรือไม่ (ผมไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายนะ มีบางคนทำอย่างนี้จริงๆ เอาหนังสือรับรอง ตรา มอก.ที่ ไหนไม่รู้ไปอ้างกับลูกค้า)

ปรกติเข็มตอกที่ใช้ จะเป็นแบบสองท่อนต่อ ให้สอบถามว่า ต่อแบบไหน ต่อแบบใช้ปลอก หรือ ต่อแบบเชื่อม (ต่อแบบเชื่อมดีกว่า)

กรณีเข็มเจาะ ให้ท่านตรวจสอบดังนี้

ขนาด และ ความยาวของเสาเข็มเจาะ ให้สอบถามว่า ใช้เหล็กเมนขนาดไหน (ขอให้ท่านเน้นเหล็กเต็มน้ำหนัก โรงใหญ่) ใช้จำนวนกี่เส้น เหล็กปลอกใช้ขนาดไหน

 

คอนกรีตที่ใช้เท เป็นแบบคอนกรีตผสมเสร็จ ยี่ห้ออะไร หรือ ผสมโม่เท

ปูนผสมโม่ ก็ใช้ได้ครับ ให้สอบถามด้วยว่า ใช้ปูนยี่ห้ออะไร เพราะราคาของแต่ละยี่ห้อไม่เท่ากัน (แม้ว่าจะสู้ READY MIX แต่ไม่ต้องรอการขนส่ง ทำให้การเทได้อย่างต่อเนื่อง มีปัญหาเรื่องน้ำใต้ดินที่จะซึมเข้ามาที่ก้นหลุม น้อยกว่า

แต่ต้องควบคุมเรื่องส่วนผสมให้ดีๆ ให้ทำกระบะสำหรับตวงปูน อย่าให้นับบุ้งกี๋เท ส่วนผสมที่ระบุไว้คือปูน :ทราย : หิน คือ 1 : 2 : 4 หรือ ตามที่วิศวกรผู้ออกแบบกำหนด ตอนที่ตกลงกับให้ระวังเรื่องการผสมคอนกรีตจด้วย บางเจ้ารับงานราคาถูกใช้ผสมปูนไม่ได้อัตรส่วน 

ให้สอบถามว่าเมื่อเจาะเข็มเสร็จแล้ว มีการทำตรวจสอบความสมบรูณ์ของเสาเข็มเจาะหรือไม่
 วิธีการตรวจสอบความสมบรูณ์ของเข็มเจาะที่นิยมใช้ วิธีนึงก็คือ การทำไซซามิคส์เทสต์

ข้อควรพิจารณา

รายการทดสอบชั้นดิน และ การทำไซซามิคส์เทสต์ สำหรับเข็มเจาะ บริษัทรับสร้างบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ครับ เพราะมันจะไปมีผลต่อราคากับราคาขายต่อตารางเมตรจะสูงเกินกว่าคู่แข่งรายอื่น ซึ่งก็ไม่ได้ให้เหมือนกัน

เวลาพิจารณาตรงนี้ ถ้าบริษัทไหนเขามีให้ท่านในฐานะเจ้าของบ้านต้องให้ความเป็นธรรมในส่วนนี้ด้วยอย่าเล็งแต่ราคาต่อตารางเมตรที่ถูกกว่าเท่านั้น

 

- โปรดอ่านต่อหน้าต่อไป -

หากมีข้อสงสัย
ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการว่าจ้างผู้รับเหมา
และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้าน ปรึกษาได้ฟรีครับ
โดยคลิกที่ไอคอนข้างล่างนี้

กลับไปหน้าสารบัญ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง

 

ค้นข้อมูล ในซีเล็คคอน

14-2-2560-S

สงวนลิขสิทธิ์ © โดยทีมงาน selectcon.com